17675495062566.jpg

วันจันทร์ที่ ๒๐ ก.พ. ๒๕๖๖ ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐- ๑๒.๐๐ น. ผอ.ตท.สป. ในฐานะอนุที่ปรึกษาการข่าวด้านข่าวกรองต่างประเทศ ได้มอบหมายให้นางสาวฐิติพร  อุนรัตน์ ผอ.กตท.ตท.สป. เข้าร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษ (ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์) เรื่องความเสี่ยงจากปัญหาเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคติดต่ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในยุคหลังโควิด – ๑๙ จัดโดยสำนักงานเลขานุการคณะที่ปรึกษาการข่าว (สลก.ปษ.) เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ความเสี่ยงจากโรคติดต่ออุบัติใหม่ แนวโน้มเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคติดต่อที่จะเป็นปัญหาในอนาคต และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการแพทย์ของไทยในการแก้ไขปัญหาเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคติดต่อ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กมล สุวรรณการ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นวิทยากร สาระสำคัญของการบรรยายฯ สรุปได้ดังนี้                                                                                              

๑)  ในภาพรวม แนวโน้มสถานการณ์ภาพรวมทั่วโลกดีขึ้น WHO กำลังพิจารณายุติ "ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ" ทั้งนี้ คาดว่าหากไม่มีไวรัสสายพันธุ์อื่นนอกเหนือจากสายพันธุ์ลูกของ Omicron ก็น่าจะไม่เกิดการระบาดใหญ่เกิดขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม ยังคงพบสายพันธุ์ย่อย Omicron อยู่

๒)  โรคโควิด-19 กับการเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้
      ๑. เชื้อลดความรุนแรง วัดจากอัตราการเสียชีวิตที่ลดลงตามเกณฑ์ที่กำหนด 
      ๒. ประชาชนมีภูมิคุ้มกันดีขึ้นจากการฉีดวัคซีน หรือภูมิที่เกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อมาก่อนแล้ว 
      ๓. การดูแลจัดการสาธารณสุขที่ควบคุมและชะลอการระบาดได้

๓)  เป็นที่คาดว่าช่วงกลางปี/ ปลายปี ๒๕๖๖ น่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม Corona Virus (Omicron) จะคงอยู่กับเราไปอีกนาน โดยอาจกลายพันธุ์ไปเรื่อย ๆ และกลายเป็นโรคประจำถิ่น ลักษณะเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่

๔)  สิ่งที่ต้องระวังจากโรคอุบัติใหม่ ได้แก่  
      ๑. อาการของโรคที่เกิดอย่างรวดเร็วและรุนแรง 
      ๒. การแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  
      ๓. การติดเชื้อที่มักเป็นการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน

๕)  ในปัจจุบันการใช้ Concept One Health หมายถึง การติดเชื้อมักจะมีความเชื่อมโยงระหว่าง ๑) สัตว์ ๒) มนุษย์ ๓) สิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจึงต้องดำเนินการติดตามเฝ้าระวังทั้งสามส่วน

๖)  เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคติดต่อนอกเหนือจากโควิด ๑๙ ซึ่งยังคงมีการติดตามเฝ้าระวังอยู่ แม้ว่าจะมี case ไม่มาก ได้แก่ ไข้หวัดนก (H5N1) เนื่องจากหากระบาดจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมมาก

๗)  ความจำเป็นในการฉีดวัคซีน โควิด –๑๙ เข็มที่ ๕ วิทยากรมีความเห็นว่า อาจรออีกระยะหนึ่ง เนื่องจาก สธ. อยู่ระหว่างดำเนินการจัดการให้วัคซีนโควิด –๑๙ เป็นลักษณะฉีดปีละครั้ง (ลักษณะเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่)

17675495098124.jpg