17761796147536.png

7 มี.ค. 2566 นางสาวฐิติพร อุนรัตน์ ผอ.กตท.ตท.สป. และ นางสาวสิรภัทร จงวัฒนาบุญ นวท.ปก. ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมการประชุม Council on General Affairs and Policy (CGAP) ของที่ประชุมแห่งกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล (Hague Conference on Private International Law: HCCH) ผ่านระบบการประชุมทางไกล โปรแกรม Zoom เวลา 15.30 - 23.30 น. โดยได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมฯ ดังกล่าว ซึ่งมีวาระการประชุม ดังนี้

1. พิธีเปิด
2. การพิจารณาการยกร่างอนุสัญญาฉบับใหม่ 6 ฉบับ ได้แก่ 1) Parentage/Surrogacy (การรับบุตรบุญธรรมภายในประเทศ/ การก่อตั้งสถานะของการเป็น ผู้ปกครองตามกฎหมายจากการรับอุ้มบุญภายในประเทศ), 2) Jurisdiction (เขตอำนาจศาล), 3) Insolvency (ล้มละลาย), 4) Intellectual Property (ทรัพย์สินทางปัญญา), 5) Digital Economy (เศรษฐกิจดิจิทัล) และ 6) New proposal (If any) (วาระใหม่ ถ้ามี)
3. การพิจารณางานขับเคลื่อนอนุสัญญาที่มีอยู่เดิม ในประเด็น International Family and Child Protection Law (กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองครอบครัวและเด็กระหว่างประเทศ) ซึ่งครอบคลุม 4 กฎหมายสำคัญ ได้แก่ 1) 1980 Child Abduction and 1996 Child Protection, 2) 1993 Adoption Convention 3) 2000 Protection of Adults Convention และ 4) 2007 Child Support Convention (incl. iSupport)

โดยในส่วนของกฎหมาย 1980 Child Abduction ประเทศไทยได้ดําเนินการภาคยานุวัต (accession) อนุสัญญาว่าด้วยลักษณะทางแพ่งในการลักพาเด็กข้ามชาติ ค.ศ. 1980 (1980 Convention on the Civil Aspects of International Child Abduction) เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2545 และอนุสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับ กับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2545 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม มีประเด็น ที่จะต้องพิจารณาตามอนุสัญญาฯ ข้อ 38 ว่าการภาคยานุวัตรจะมีผลผูกพันระหว่างรัฐ ภาคีเดิมกับรัฐที่ให้ภาคยานุวัตรภายหลัง ต่อเมื่อรัฐภาคีเดิมประกาศการยอมรับภาค ยานุวัตรนั้น หากรัฐภาคีเดิมยังไม่ได้มีการ ประกาศยอมรับการภาคยานุวัตร รัฐภาคีเดิมจึงไม่มีพันธกรณีที่จะให้ความช่วยเหลือ ตามอนุสัญญา ทั้งนี้ วาระการประชุมในวันนี้ไม่มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของ มท.

17761796088595.jpg

17761796112691.png

17761796134453.png