17725459886898.jpg

ผอ.ตท.สป. ได้มอบหมายให้นางวาสนา เตชะวิจิตรสาร ผอ.กอซ.ตท.สป. และ น.ส.ภณิชชา ลิ่มสกุล เข้าร่วมการประชุม Border Management Dialogue for the ASEAN Region โดยจัดร่วมกันระหว่างกระทรวงการต่างประเทศและ United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC) ระหว่างวันที่ ๒๗ ก.พ. - ๑ มี.ค. ๒๕๖๖ ณ พัทยา จ.ชลบุรี

การจัดประชุมมีจุดประสงค์เพื่อข้อสรุปในการบริหารจัดการชายแดนที่ดีท่ามกลางความท้าทายเดิมและความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้นบริเวณชายแดน โดยจะเป็นการนำเสนอจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการนำเสนอการดำเนินงานของประเทศสมาชิก ดังนี้

Mr.Jeremy Doulas นำเสนอเรื่องความท้าทายสำคัญของประเทศไทยและภูมิภาค ซึ่งคือความท้าทายในการบูรณาการการทำงานร่วมกัน ก่อนหน้านี้ได้มีความพยายามร่วมกันระหว่างหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง ตอน 2019 เพื่อที่จะสร้างกรอบนโยบายในการบริหารจัดการพื้นที่ชายแดน ในท้ายที่สุดก็มีการทำความตกลงร่วมกันในการสร้าง roadmap เพื่อเป็นกรอบการทำงานในการปฏิบัติการ โดย UNODC จะเป็นผู้ช่วยเหลือให้การปฏิบัติไปตามแผนที่วางไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายเป็นอย่างมาก ใน roadmap มีการพูดถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ระหว่าง 2019-2021 UNODC ได้มีการศึกษาเพื่อทำรายงานจากผู้ทำปฏิบัติงานอยู่บริเวณชายแดนว่ามีปัญหาในการดำเนินการอะไรบ้าง และวันนี้คาดว่าผลการดำเนินการตาม roadmap จะทำให้ท่านผู้ปฏิบัติงานสามารถบอกปัญหาจากการปฏิบัติตามและสามารถหาแนวทางแก้ปัญหา

UNODC นำเสนอเรื่อง Launch of the reports Drivers of Illicit Trafficing in Border Community in Southeast Asia and Pacific เพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินการบริเวณชายแดนมากขึ้น การศึกษาพบว่า ถ้าไม่ได้มีการทำงานกับทรัพยากรมนุษย์ที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดน จะเป็นเรื่องที่ยากมากในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ความท้าทายสำคัญคือ ๑) การเพิ่มขึ้นของผู้เสียหายและการค้าและผลิตภัณฑ์ยาที่ผิดกฎหมาย ๒) ช่องว่างของนโยบายและกฎหมายทางการเงินที่ทำให้มีการฟอกเงินเพิ่มมากขึ้น ๓) การเพิ่มขึ้นของเครือข่ายการเดินทางของภาคธุรกิจและสังคมซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสการใช้แรงงานที่ผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์ ๔) อาชญากรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มีการก่ออาชญากรรข้ามชาติในการขนส่งของป่าและค้าไม้ที่ผิดกฎหมายตลอดทั้งภูมิภาคเอเซียตะวันออก และ ๕) cyber crime ได้มีปริมาณเพิ่มขึ้น

Mr.Pjilip De La Torre นำเสนอนโยบายระดับชาติในภาพรวม การประเมินโครงการ แนวทางการประชุมและวัตถุประสงค์สำหรับการประชุมในครั้งนี้ โดยข้อแถลงการณ์ที่สำคัญของ UN ใน UNGA 77 มีหัวข้อสำคัญคือ A watershed moment: transformative Solutions to interlocking challenges ต้องตระหนักรู้ว่าโลกในปัจจุบันมีความซับซ้อนและมีการเชื่อมโยงกันของวิกฤต เช่น การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ความท้าทายทางมนุษยชน การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และความท้าทายทางเศรษฐกิจ ซึ่งการบริหารจัดการชายแดนที่มีประสิทธิภาพและมีการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้

Mr. Inshik Sim นำเสนอทิศทางของการขนส่งสิ่งผิดกฎหมายระหว่างประเทศ ในช่วงของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้การค้าสิ่งผิดกฎหมายมีปริมาณสูงขึ้นทั้งในบริเวณชายแดนและน่านน้ำ มีการขยายการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างการค้ายา ในส่วนของการขนส่งทางทะเลนั้น เหตุการณ์ของการปล้นในทะเลและการค้ามนุษย์ มีเพิ่มมากขึ้น มีความขัดแย้งกันจากประเด็นน่านน้ำในการทำประมง เครือข่ายการขนส่งยาเปลี่ยนจากเรือขนาดกลางมาเป็นเรือขนาดเล็ก และมีการใช้การใช้เทคโนโลยีการบิดเบือนเพื่อหลบหลีกการระบุตำแหน่งของเรือ ทั้งนี้ ในส่วนของทิศทางการขนส่งทางเรือสินค้ามีเพิ่มมากขึ้นจากการขนส่งยา ของป่า และขยะ

Ms.Bacharee Puengpak กต. นำเสนอกลไกความร่วมมือการบริหารจัดการชายแดนใน ASEAN ซึ่งได้มีความร่วมมือในการพัฒนาการบริหารจัดการชายแดนร่วมกับ UNODC มาเป็นเวลากว่า ๕ ปี ซึ่งในปี 2019 ได้มีการประชุมระดับภูมิภาคระดับสูงในหัวข้อ “ASEAN ในปี 2025: การประสานงานร่วมกันทางเศรษฐกิจและความมั่นคง” ซึ่งเป็นผลลัพธ์เอกสารการตีพิมพ์ครั้งที่ ๕ ในความร่วมมือนี้ ชื่อว่า “การเติบโตพร้อมกับความมั่นคง: ASEAN ในปี 2025: การบริหารจัดการชายแดนของภูมิภาค” ซึ่งไทยได้เสนอร่างหลักการ: ASEAN Border Management Cooperation Roadmap หรือ แผนความร่วมมือการบริหารจัดการชายแดนของภูมิภาคอาเซียนไปยังกลุ่มประเทศสมาชิกเพื่อพัฒนาเครื่องมือของแผนฯ ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นและสามารถใช้งานได้จริงในภูมิภาค นอกเหนือจากนั้นยังทำให้ภูมิภาคอาเซียนมีความปลอดภัย มั่งคง มั่งคั่ง และยั่งยืน แผนความร่วมมือการบริหารจัดการชายแดนของภูมิภาคอาเซียนมีจุดประสงค์ในการทำให้ภูมิภาค ๑) เพิ่มความร่วมมือระหว่างกันในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการชายแดนผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อมูลข่าวกรอง ๒) นำมาตรการมาใช้เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัยและมั่นคงของชุมชนอาเซียนจากอาชญากรรมข้ามชาติและความท้าทายข้ามแดน และ ๓) มีการประสานงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติตลอดทั้งชายแดนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศสมาชิก ซึ่งแผนความร่วมมือฯ ได้รับการยอมรับในการประชุม DGICM ครั้งที่ ๒๔ วันที่ ๒๖ ส.ค. ปี ๒๐๒๑ และได้รับการยอมรับจากการประชุม ASEAN Ministerial Meeting on Transnational Crime (AMMTC) ในวันที่ ๒๑ ก.ย. ปี ๒๐๒๑

การรายงานโดยประเทศสมาชิก

๑. บรูไน โดย department of immigration and natinal registration: มีการบริหารจัดการชายแดนร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ มีการใช้เทคโนโลยีสำหรับการบริหารจัดการเข้าเมือง มีการฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

๒. มาเลเซีย: การบริหารจัดการชายแดนเป็นการบริหารจัดการร่วมกันระหว่างทางอากาศ น้ำ และดินแดน ตอนนี้กำลังเผชิญหน้ากับปัญญา Cyber Crime และเผชิญปัญหาการย้ายถิ่นฐานและการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งตอนนี้กำลังนำแผนการบริหารจัดการมาใช้เพื่อจัดการกับปัญหาต่าง ๆ โดยกำลังเพิ่มประสิทธิภาพด้านต่าง ๆ ได้แก่ ๑) ความสามารถของเจ้าหน้าที่ ๒) การเพิ่มการใช้งานโดยเทคโนโลยี ๓) เพิ่มความสามารถในการดำเนินการและความตระหนักรู้ และ ๔) การทำความตกลงร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

๓. ลาว: หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหลายหน่วยงานทั้งสำหรับคน พืช อาหาร และสาธารณสุข มี ด่านสากล ๒๑ แห่ง ด่านท้องถิ่น ๑๙ แห่ง และด่านประเพณี ๔๘ แห่ง มีการนำแผนบริหารจัดการชายแดนไปใช้ด้วยเช่นกัน

๔. อินโดนีเซีย: ปัญหาของการบริหารจัดการชายแดนเกิดทั้งในส่วนของชายแดนและพื้นที่ส่วนใน โดยเฉพาะในส่วนของอาชญากรรมทางน้ำเนื่องจากอินโดนีเซียมีพื้นที่ครอบคลุมเกาะหลายเกาะ การบริหารจัดการชายแดนให้ความสำคัญ ๔ ประการ ได้แก่ ๑) การบริหารจัดการชายแดน ๒) การบริหารจัดการการข้ามแดน ๓) การพัฒนาพื้นที่ชายแดน และ ๔) การพัฒนาสถาบันเพื่อบริหารจัดการชายแดน

๕. เมียนมา: เผชิญกับปัญหาการค้ามนุษย์โดยมีการหลอกล่อว่าจะได้รับเงินเป็นจำนวนมากจากการทำงานผ่านโฆษณาออนไลน์ โดยเมียนมามีความพยายามในการสร้างความร่วมมือเผื่อแก้ปัญหากับตำรวจนานาชาติและ UNODC รวมทั้งใช้กลไก BLO ทั้งนี้ เมียนมามีข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการชายแดนของอาเซียน ได้แก่ การอบรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้และเพื่อเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่วนหน้า และการใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยและการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้

๖. ไทย: มีการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน ซึ่งทำให้การทำงานเป็นไปอย่างแยกส่วนและอาจมีความคิดเห็นไม่ตรงกันของหน่วยงาน จึงได้มีการจัดทำแผนการบริหารจัดการชายแดนขึ้น ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ความท้าทายในปัจจุบันที่ประเทศไทยกำลังเผชิญได้แก่ ๑) การค้ายาและค้ามนุษย์ ๒) การลักลอบหลบหนีเข้าเมือง ๓) การฟอกเงิน และการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการแก้ไขปัญหาอาจจะสามารถทำได้โดย ๑) การเชื่อมโยงข้อมูล ๒) การบูรณาการฐานข้อมูลและการระบุภัยคุกคามร่วมกัน ๓) การระบุการบริหารจัดการชายแดนที่ต้องพิจารณาร่วมกัน และ ๔) การมีการสื่อสารกันอย่างสม่ำเสมอรวมถึงความโปร่งใส ให้ความสำคัญในการบริหารจัดการชายแดน ดังนี้ ๑) การพัฒนาวและเพิ่มความสามารถให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงาน ๒) การสำรวจข้อมูลที่ไม่เชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ และ ๓) สำรวจเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ในการบริหารจัดการชายแดนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๗. เวียดนาม: ในการบริหารจัดการชายแดนของเวียดนามมีประเด็น ดังนี้ ๑) ความยาวของชายแดนทั้งเขตแดนทางบกและน่านน้ำ ๒) การมีความตระหนักรู้ที่จำกัดของประชาชน ๓) อาชญากรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการก่ออาชญากรรม ๓) การทำงานอย่างแยดส่วนของกลไกที่เกี่ยวข้อง และ ๔) ข้อจำกัดของการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งนี้ เวียดนามได้ให้ความสำคัญในการบริหารจัดการชายแดน ดังนี้ ๑) การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถของเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ และ ๒) การเพิ่ม BLOsใน ๑๕ จังหวัด และมีกิจกรรมเพื่อเพิ่มทักษะของเจ้าหน้าที่

๘. อินโดนีเซีย: มาตรฐานของแผนบริหารจัดการฯ และความสำเร็จตามเป้าหมายในเรื่องความสามัคคี สันติภาพ และความมั่งคั่งของ ASEAN ในระดับโลก ASEAN กำลังเผชิญกับความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ เช่น อาหาร พลังงาน และความมั่นคงทางการเงิน ในระดับภูมิภาค ASEAN กำลังอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งทางอำนาจที่ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในภูมิภาค รวมทั้งภัยคุกคามความมั่นคงแบบใหม่ เช่น อาชญกรรมข้ามชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ วิกฤตในเมียนมายังสร้างความท้าทายใหญ่ให้กับภูมิภาคนี้ อินโดนีเซีย ศูนย์กลางการเติบโต จึงดำเนินการเพื่อให้ประเทศสมาชิกตอบสนองต่อประชาชน ดังนี้ ๑) เตรียมความพร้อม ASEANในการบริหารจัดการความท้าทายผ่านวิสัยทัศน์สำหรับปี ๒๐๔๕ โดยการเสริมสร้างความแข็งแกร่งและเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒) เพิ่มการบูรณาการในการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะจากการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด
ในฐานะของการเป็นศูนย์กลาง อินโดนีเซียรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคของการเป็นเครื่องจักรของระบบเศรษฐกิจโลก โดยมีเป้าประสงค์ในการเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพ และการเงิน ดังนั้น การใช้แผนบริหารจัดการชายแดนของ ASEAN จึงเป็นโอกาสที่สำคัญในการเริ่มพัฒนาความร่วมมือเพื่อการเสริมสร้างความปลอดภัยบริเวณชายแดน

โดยที่ประชุมได้สรุปมาตรการในการบริหารจัดการชายแดนที่มีประสิทธิภาพจำนวน ๕ ข้อ ได้แก่ ๑) การมีการฝึกอบรมที่เหมาะสมให้แก่เจ้าหน้าท่ี ๒) การมีโครงสร้างพื้นฐานและการอำนวยความสะดวกที่เพียงพอ ๓) การมีอุปกรณ์ที่ทันสมัย ๔) การบริหารจัดการระบบข้อมูลที่มีความทันสมัยและเข้าถึงได้โดยเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติการ และ ๕) การมีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและสม่ำเสมอ ทั้งองค์กรและภาคเอกชน

17725460007131.jpg

17725459979758.jpg

17725459956454.jpg

17725459927255.jpg