S__19071016.jpg

วันนี้ 21 มีนาคม 2567 เวลา 9.30-10.30 น. ณ ห้องประชุมดำรงธรรม ชั้น 2 ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ รอง ปมท (ม) ได้อนุญาตให้คณะผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) นำโดย นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. เข้าพบหารือในประเด็นการอำนวยความสะดวกในการแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าวเมื่ออาศัยอยู่ในราชอาณาจักร โดยมีนางมณฑ์หทัย รัตนนุพงค์ ผอ.ตท.สป. นางสาวฐิติพร อุนรัตน์ ผอ.กตท.ตท.สป. พร้อมด้วยผู้แทนจาก สกม.สป. และ สก.สน.ปค. เข้าร่วมการเข้าพบหารือฯ ดังกล่าว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. ผู้แทนสำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะผู้แทนคณะอนุกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (คปธ.) คณะที่ 1 (ด้านการส่งเสริมการประกอบธุรกิจ) แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงข้อเสนอที่ คปธ. คณะที่ 1 ได้นำกราบเรียน นรม. เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2567 ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของ มท. คือ การอำนวยความสะดวกในการแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าวเมื่ออาศัยอยู่ในราชอาณาจักร ซึ่ง นรม. ได้มอบหมายให้ มท. ออกประกาศเพื่อเพิ่มเติมกลุ่มคนต่างด้าวที่ได้รับการตรวจลงตราสำหรับการทำงาน ติดต่อทางธุรกิจหรือการประชุม (Non-Immigrant “B”
(Non-B)) และการตรวจลงตราสำหรับการศึกษา ดูงาน และฝึกอบรม (Non-Immigrant“ED” (Non-ED)) รวมจำนวนประมาณ 1 แสนคนต่อปี ให้สามารถแจ้งที่พักอาศัยจากทุก 90 วันเป็น 1 ปี ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน

2. นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ รอง ปมท (ม) ได้มีข้อเสนอและข้อคิดเห็นในประเด็น ดังกล่าว ดังนี้
⁃ ควรมีการจำกัดให้ผู้รักษาการของกฎหมายต่าง ๆ มีเพียงหน่วยงานเดียว เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน
⁃ การให้แจ้งที่พักอาศัยทุก 1 ปี ต้องพิจารณาตามระยะเวลาการเข้ามาพำนักในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวที่ได้รับการตรวจลงตราทั้งสองประเภทตามที่ คปธ. เสนอ ให้มีความเหมาะสมและไม่กระทบต่อความมั่นคงภายใน เนื่องจากหากต่างด้าวผู้นั้นมีระยะเวลาการพำนักในราชอาณาจักรไม่ถึง 1 ปี จะหมายถึงการยกเว้นให้ต่าวด้าวผู้นั้นไม่ต้องแจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไปโดยปริยาย
⁃ สำหรับการกำหนดให้คนต่างด้าวแจ้งที่พักอาศัยทุก 90 วัน ตามมาตรา 37 (5) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เห็นว่า ความไม่สะดวกไม่ได้เกิดจากตัวบทกฎหมาย แต่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวของหน่วยปฏิบัติ โดยมีความเห็นเพิ่มเติมว่า กฎหมายดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญกำหนดให้มีหนังสือแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ทุก 90 วัน มีความชัดเจนและเหมาะสมแล้ว โดยมีข้อเสนอให้หน่วยปฏิบัติปรับปรุงกระบวนการแจ้งเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนต่างด้าว อาทิ การแจ้งในรูปแบบของไปรษณีย์ หรือการแจ้งผ่านระบบออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ โดยเจ้าพนักงานไม่ควรเรียกเอกสารเพิ่มเติมที่ทางราชการมีอยู่แล้วจากผู้แจ้ง ทั้งนี้ ในกรณีที่จำเป็นและต้องการใช้สำเนาเอกสารเพิ่มเติมที่ทางราชการมีอยู่แล้ว เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการ ควรให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้จัดทำสำเนาเอกสารดังกล่าวขึ้นเอง โดยห้ามมิให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากการจัดทำสำเนาเอกสารดังกล่าว

S__19071015_0.jpgS__19071014_0.jpgS__19071012_0.jpg