S__6266907.jpg

วันนี้ (25 ส.ค. 2566) ตามที่ ร้อยตรี สรมงคล มงคละสิริ ผอ.ตท.สป. ได้มอบหมายให้นางอมราภรณ์ ทรงอาวุธ หน.บห. เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาเครือข่ายธรรมาภิบาล เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 – 12.30 น. รูปแบบระบบออนไลน์ ผ่าน Facebook Live Fan page สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน สรุปผลการประชุมได้ ดังนี้
​1. กิจกรรมสัมมนาเครือข่ายธรรมาภิบาล จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้การดำเนินงาน
ธรรมาภิบาลเครือข่ายแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชน เพื่อเป็นแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนให้พี่น้องประชาชนได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
​2. หลักธรรมาภิบาลเป็นหลักสากลที่ทุกองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกลุ่มเป้าหมาย “พี่น้องประชาชน”
​3. หน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน
​1) เสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้องบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่ง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใด ๆ บรรดาที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน หรือเป็นภาระแก่ประชาชนโดยไม่จำเป้นหรือเกินสมควรแก่เหตุ
​2) แสวงหาข้อเท็จจริงเมื่อเห็นว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ขจัดหรือระงับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมนั้น
​3) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบถึงการที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามอำนาจหน้าที่ของรัฐของรัฐธรรมนูญ
​4. การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
​1) เสนอแนะต่อกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่ง หรือขั้นตอนการปฏิบัติใดๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บรรดาที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน หรือความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนใดไม่จำเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ
​2) เสนอแนะต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีการปรับปรุงข้อบัญญัติหรือเทศบัญญัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใด ๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บรรดาที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน หรือความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนโดยไม่จำเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ
​3) แสวงหาข้อเท็จจริงเมื่อเห็นว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรม อันเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหาร หรือพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเสนอแนะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหรือระงับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมนั้น
​5. การมีส่วนร่วมของประชาชน การที่กลุ่มประชาชน หรือขบวนการที่สมาชิกของชุมชนที่กระทำการออกมาในลักษณะของการทำงานร่วมกัน ที่จะแสดงให้เห็นถึงความต้องการร่วม ความสนใจร่วมมีความต้องการที่จะบรรลุถึงเป้าหมายร่วมทางเศรษฐกิจและสังความหรือการเมือง หรือการดำเนินการร่วมกันเพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อรองอำนาจ มติชนไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม หรือการดำเนินการเพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อรองอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ การปรับปรุงสถานภาพทางสังคมในกลุ่มชุมชน
​6. การมีส่วนร่วมของประชาชนถือเป็นหัวใจหรือองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่น คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนปกครองตนเอง หรือกำหนดวิถีชีวิตและอนาคตของชุมชนโดยคนในชุมชน
​7. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถสนับสนุนให้ประชาชนได้รับทราบถึงสิทธิของตนเอง และอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชน เช่น การแนะนำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลกองทุนต่าง ๆ ที่จะช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจพื้นฐานของครัวเรือน หรือกองทุนที่มีวัตถุประสงค์ตามกฎหมายเฉพาะ
​1) กองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมือง
​2) กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
​3) กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
​4) กองทุนยุติธรรม
​8. การอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดข้อร้องเรียน เช่น
​1) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
​2) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
​3) การควบคุมอาคาร
​4) การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ กาตจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ
​5) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
​6) การจัดการศึกษา
​7) การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
​8) การใช้จ่ายเงินงบประมาณ
​9. ประเด็นเรื่องร้องเรียนมากที่สุด
​1) การละเลยการปฏิบัติหน้าที่/ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า
​2) ปัญหาความประพฤติของเจ้าหน้าที่
​3) การเลือกปฏิบัติ/กลั่นแกล้ง
​4) การทุจริต
​5) ปัญหาการจัดบริการสาธารณะ
​6) การบุกรุกที่ดิน/ที่สาธารณะประโยชน์
​7) การจัดซื้อจัดจ้าง
​8) การมีส่วนร่วมของประชาชน/การจัดประชาคม/การรับฟังความคิดเห็น
​9) การก่อสร้าง/บำรุงรักษาสาธารณูปโภคไม่ได้มาตรฐาน
​10) กฎ คำสั่ง การกระทำมีปัญหาความชอบด้วยกฎหมาย หรือรัฐธรรมนูญ
​10. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามความคาดหวังของประชาชน
​ 1) เป็นองค์กรเชิงรุก (Active Organization)
​2) สามารถตอบคำถามทุกคำถามได้อย่างมีเหตุผล/ตรวจสอบได้
​3) มีความโปร่งใส/เปิดเผยข้อมูลผ่านสื่อต่าง ๆ
​4) ให้บริการต่อสาธารณะโดยมุ่งประชาชนเป็นศูนย์กลาง
​5) มีสำนึกรับผิดชอบ/ตรวจสอบได้
​6) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้าง
​7) ริเริ่ม สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อป้องกันหรือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ

messageImage_1692931621853.jpg

messageImage_1692933825871.jpg

messageImage_1692936436409.jpg