77733_0.jpg

วันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.30 - 12.00 น. นางอมราภรณ์ ทรงอาวุธ หน.บห และ น.ส.เนตร์นภา อินต๊ะเป็ง พนง.วิชาการเงินและบัญชี ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนภารกิจด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของกระทรวงมหาดไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 การประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การดำเนินงานการประเมินความเสี่ยงการทุจริต ณ ห้องประชุมราชบพิธ ชั้น 5 อาคารดำรงราชานุสรณ์ โดยมี นายมานะ สินมา ที่ปรึกษาด้านกฏหมาย เป็นประธานในการเปิดโครงการฯ
กิจกรรมในการดำเนินโครงการฯ มีการบรรยายในหัวข้อ “การประเมินความเสี่ยงการทุจริตในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสินบน” โดย นางฉวีวรรณ นิลวงศ์ นวผ.ชช. สำนักงาน ป.ป.ท. สรุปเนื้อหาสำคัญดังนี้
การประเมินความเสี่ยงการทุจริต เป็นเครื่องมือระบุจุดอ่อนของระบบต่างๆ ภายในองค์กรที่อาจเปิดช่องให้เกิดการกระทำการทุจริตได้ ,เป็นกิจกรรมที่ค้นหาโอกาสที่จะทำการทุจริตในอนาคตและ เป็นการหามาตรการ วิธีการที่เหมาะสม ในการประเมินโอกาส (Likelihood) และผลกระทบต่อองค์กร (Impact) หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น โดยความเสี่ยงการทุจริต มี 2 ประเภทคือ 1) การอนุมัติ-อนุญาติตาม พรบ. การอำนวยความสะดวกฯ ความเสี่ยงการทุจริตจากการกระทำ โดยตัวผู้ทุจริตเองโดยลำพัง ไม่เกี่ยวกับบุคคลที่สอง เช่น การยักยอก เบียดบังเงินหรือทรัพย์สินของ ทางราชการ การเบิกจ่ายเงิน การดำเนินการ ด้านการเงินและการบัญชีที่เป็นเท็จ สาเหตุสำคัญของ การทุจริต เกิดจากการขาดระบบการควบคุมภายในที่ดี หรือ ความอ่อนแอ ของระบบการควบคุมภายใน (Internal Control Weakness) 2) การใช้อำนาจตามกฏหมาย/การให้บริการตามภารกิจ ความเสี่ยงการทุจริต จากการกระทำที่เกี่ยวกับสองฝ่าย มีทั้งผู้ให้ ผู้รับสินบน เช่น เงินใต้โต๊ะ ของขวัญสินน้ำใจ การต้อนรับ การบริจาค ค่าอำนวยความสะดวก หรือ ผลประโยชน์ ในรูปแบบอื่น ๆ ที่คำนวณมูลค่าได้
ขั้นตอนหรือกระบวนการบริหารความเสี่ยงการทุจริต 1) Plan (P) การวางแผน การวิเคราะห์บริบทขององค์กร ถึงบทบาท ภารกิจ อำนาจหน้าที่ ขององค์กร 2) Do (D) การดำเนินการตามแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงการทุจริต โดยมีมาตรการหรือแนวทางการจัดการความเสี่ยงการทุจริตที่เหมาะสมและเพียงพอ 3) Check (C) การติดตาม วิเคราะห์ผลการดำเนินการตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยงการทุจริต เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ ปรับปรุงระบบจัดการอย่างต่อเนื่อง 4) Act (A) หากการดำเนินการใดไม่สอดคล้องตาม มาตรการ หรือแนวทางการจัดการความเสี่ยงการทุจริต ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นระบบ กำจัดสาเหตุของการดำเนินการที่ไม่สอดคล้อง ป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ อาจเปลี่ยนมาตรการ/แนวทาง และปรับปรุงแผนการจัดการความเสี่ยงการทุจริต
กิจกรรมในช่วงท้ายเป็นการยกตัวอย่าง การประเมินความเสี่ยง การทุจริตในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสินบน ขับเคลื่อนผ่านการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐหรือ Integrity and Transparency Assessment :ITA ข้อ O30 การดำเนินการจัดการความเสี่ยง โดยมีการแนะนำให้ปรับแก้รายละเอียดเนื้อหาขั้นตอนการดำเนินงาน/ระดับความเสี่ยง/เหตุการณ์ความเสี่ยง ให้ครอบบคลุมมากขึ้น ฯลฯ

77740_0.jpg77738_0.jpg77736_0.jpg